วิธีเปลี่ยน Password User Admin ของ joomla3x

Ads-bygoogle

ส่วนของผู้ดูแลระบบ Joomla/Administrator คือหน้าจอหลักของการ เข้าไปแก้ไข ภายในหลังบ้านของเว็บไชต์ Joomla ทุกรุ่น โดยจะมีรหัสผ่าน และชื่อผู้ใช้งาน ตั้งค่าในระหว่างการติดตั้ง Joomla ไว้ก่อนแล้ว
การตั้งค่ารหัสผ่าน Password และ Username joomla ขึ้นใหม่ เป็นผลดีในเรื่อง การป้องกัน เฮกเกอร์เจาะระบบ เพราะรหัสบางรหัส เดาง่าย เฮกเกอร์จะใช้โปรแกรมเจาะระบบไม่กี่ชั่วโมง ก็เข้าได้แล้ว 

บทความสอน วิธีการ เปลี่ยนรหัสผ่าน Password ของผู้ดูแลระบบ Joomla ซึ่งจะมีขั้นตอนการแก้ไข 3 ขั้นตอนดังนี
1.เข้าเว็บไชต์ของเราผ่าน ฐานข้อมูล ด้วย phpmyadmin
2.ค้นหาชื่อ ชื่อฐานข้อมูล : ชื่อฐานเว็บไชต์ ของเรา
3.ค้นหาชื่อ ตารางที่ เขียนลงท้ายคำ _Uesrs ซึ่งชื่อนี้จะเข้าไปแก้ไข Password เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ โดยมี ตัวอักษร อักขระ เครืองหมาย พิเศษ ให้ยากต่อการเดารหัส 

ผู้เขียนทดลอง ทำเว็บไชต์ Joomla แบบ localhost ในเครื่อง การเรียกใช้งานใน ฐานข้อมูล ก็จะพิมพ์ localhost/phpmyadmin หากผู้ใช้งาน ทำบนโฮทจริง ก็พิมพ์ www.โดเมนเรา.com/phpmyadmin ก็จะเข้าสู่หน้าจอ การเรียกฐานข้อมูลมาใช้งานโดยประมาณนี้
ตัวอย่าง ฐานข้อมูลเว็บไชต์ Joomla3x ของผู้เขียน ใช้ชื่อ ว่า site ก็คลิก>>เปิดขึ้นมา จะเข้าสู่หน้าจอ แสดงตารางเยอะแยะมากมาย ให้มองหา ตารางที่ชื่อว่า xgm6o_users แล้วคลิก>>จะเข้าสู่หน้าจอถัดไป
ในช่อง username เลือก ตั้งค่าเป็น MD5 จากน่ั้นเปลี่ยนรหัสผ่าน ใหม่ ให้เดายากๆ แล้วจดไว้ กันลืม  จากนั้น คลิก>> GO จะเข้าสู่หน้าจอ บันทึก การตั้งค่า รหัสผ่านใหม่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว 
Ads-bygoogle

แทรกป้ายโฆษณาบนเว็บไชต์joomla3x

Ads-bygoogle

ป้ายโฆษณาบนหน้าเว็บไชต์ ของจูมลา สามารถแทรกได้หลายๆตำแหน่ง และ มีขนาดให้เลือกแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความสวยงามบนหน้าเว็บ และความต้องการของ ผู้ที่มาลงโฆษณาในเว็บไชต์เรา
คุณลักษณะของป้ายแต่ละชนิด จูมลาสามารถรองรับได้ทุกไฟล์สกุลของภาพ เช่น .jpg .png.gip ทั่วๆไป และยังรองรับป้ายโฆษณาแบบแทรก โค๊ด Adsense .BumQ  nipa  Ad units ค่ายดังๆ ก็แทรกออกมาได้เนียนตาเช่นกัน

บทความ สอนวิธี การแทรกป้ายโฆษณา บนหน้าเว็บไชต์ Joomla3x โดยจะเน้น หลักการที่ง่ายที่สุด ซึ่งจะมี 4 ขั้นตอนด้วยกัน
1.สร้างชื่อลูกค้า:ชื่อของผู้ที่มาลงโฆษณา หรือ ชื่อป้ายโฆษณา ของเราเอง
2.สร้างหมวดหมู่ป้ายโฆษณาลูกค้า : ชื่อหมวดหมูประจำป้ายโฆษณาลูกค้าหรือป้ายโฆษณาของเราเอง
3.สร้างป้ายโฆษณาของลูกค้า : สร้างป้ายโฆษณา ของลูกค้า หรือ ของเราเอง เพื่อให้ป้ายโฆษณา แสดงผลออกมาทางหน้าเว็บ ข้อนี้ สำคัญที่สุด
4. สร้างโมดูลใหม่ เลือกชนิดโมดูล ป้ายโฆษณา เพื่อเชื่อมโยง เมนูป้ายโฆษณา หมวดหมู่ป้ายโฆษณา และรายชื่อลูกค้าที่สร้างรอไว้ 
คลิก >> เมนูคอมโพเน้นท์ >>ป้ายโฆษณา>>ลูกค้า เพื่อกำหนด รายละเอียด ชื่อลูกค้า ข้อมูล การติดต่อใส่ให้ครบเรียงตามรายการ แบบฟร์อม ที่จูมล่ากำหนดมาทั้งหมด ยกตัวอย่าง คุณสมศักดิ์ หรือ นาย A-B-C อะไรก็ได้ เพื่อทดลอง แล้วคลิก>>เมนูบันทึกปิด
สร้างหมวดหมู่ ของป้ายโฆษณา คลิก>> เมนูคอมโพเน้นท์ คลิก>>ป้ายโฆษณา คลิก>>หมวดหมู่ในหน้าจอถัดไป คลิก>>เมนู สร้างใหม่
หน้าจอนี้ แสดง การสร้างหมวดหมู่ป้ายโฆษณา สำหรับลูก ตัวอย่าง คุณสมศักดิ์ ใส่รายละเอียด โน๊ตไว้ย่อๆ ในชุดเครื่องมือเขียนบทความ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และการเรียกใช้งาน
สร้างป้ายโฆษณาของลูกค้า ในหน้าจอนี้ แสดงการตั้งค่า ชนิดของป้ายโฆษณาแบบต่างๆ เช่นป้ายโฆษณารูปภาพ ป้ายโฆษณา แบบแทรกโค๊ด  Adsense .BumQ  nipa  Ad units

ในที่นี้แนะนำให้สร้างป้ายโฆษณาประเภท รูปภาพก่อนก็ได้ จากนั้น กำหนดความกว้าง สูง ของป้าย ใส่รายละเอียดของป้ายใ นชุดเครื่องมือเขียนบทความ ย่อๆ คลิก>>เลือนแท็ป หมวดหมู่ คลิก>>เลือน  คลิก>>หมวดหมู่ ของคุณสมศักดิ์ตามตัวอย่าง 
หน้าจอเดียวกันนี้ แท็ปเมนู >> กำหนดรายละเอียดป้ายโฆษณา ให้เลือก ชือลูกค้าที่ สร้างไว้ในหัวข้อที่ 1 ในที่นี้ เลือก คุณสมศักดิ์  ข้อนี้สำคัญมาก ไม่เช่นนั้น ป้ายโฆษณาจะไม่แสดงผลหน้าเว็บไชต์ของเรา จากนั้น คลิก>>ปุ่มบันทึกปิด 
สร้างโมดูล ป้ายโฆษณาให้กับลูกค้า ให้เราทำการสร้างใหม่ โดยวิธีการ คลิก>>เมนูส่วนเสริม>>คลิก>>เมนูโมดูล>>เลือกชนิดโมดูล คลิก>>เมนูป้ายโฆษณา
หน้าจอ นี้แสดงการตั้งค่าการเชื่อมโยงทั้งหมด ของ ป้ายโฆษณาลูกค้ารายนี้ ซึ่งจะมี รายชื่อลูกค้า ป้ายโฆษณาลูกค้า หมวดหมู่ป้ายโฆษณาลูกค้า ทั้งหมดที่ได้สร้างรอไว้ก่อนหน้านี้ คลิก>>เมนูบันทึกปิด เป็นขั้นตอนท้ายสุด ของการแทรกป้ายโฆษณาใน joomla จากนั้นเรียกหน้าเว็บไชต์ของเรามาดู

Ads-bygoogle

แก้ไขไฟล์ configuration joomla3x บน Hosting ของผู้ให้บริการ

Ads-bygoogle

ไฟล์  configuration.php ของ joomla สำหรับผู้ติดตั้งแบบ localhost จะตั้งค่าการเชื่อมต่อกับ web-seaver จำลอง โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะต้องทำการแก้ไขไฟล์นี้ เมื่อนำขึ้นสู่โฮตติ้งจริง แต่มือใหม่ทำเว็บไชต์มักจะแก้ไขกันไม่ได้ในข้อนี้

บทความแสดงตัวอย่าง การแก้ไข ไฟล์ configuration.php ของ joomla  เพื่อเชื่อมต่อ web hosting ของผู้ให้บริการ โดยแก้ไข โค๊ช public $log_path และ public $tmp_path เท่านี้เว็บไชต์ ก็ใช้งาน ได้แล้ว
ความหมาย ของโค๊ดนี้ 'D:/xampp/htdocs/jm35/tmp';และlogs  ประมาณว่า 
D: ไฟล์เว็บ joomla เก็บไว้ในไดร์ D:ในเครื่องของเรา /xampp คือ ติดตั้ง joomla โดย wed seaver จำลอง/htdocsคือ โฟลเดอร์หลักของ xampp  จะสร้างโฟล์เดอร์ใด ก็จะผ่านโฟลเดอร์นี้ไปก่อน แล้วแยกย่อย หลายๆโฟล์เดอร์ / jm35 คือ ชื่อโฟล์เดอร์เว็บไชต์ของผู้เขียน /tmpและlogs คือ การบันทึกการตั้งค่า

แก้ไขไฟล์ configuration.php บนโฮทติ้ง โดยการ ใช้โปรแกรม FTP เชื่อมต่อ web hosting เข้าไปเปิดดูโฟลเดอร์ เว็บไชต์ของเรา โดยคลิกไฟลนี้ แล้วคลิกขวาเมาส์ เลือกเมนู View/Edit เลือกเปิดไฟล์ด้วย EditPlus หรือ Notepad จะเจอไฟล์ และโค๊ตนี้อย่างเดียวกัน
นำโค๊ดนี้ไปทับในตำแหน่ง ดังกล่าว โดยเปลียนค่า /home/ฐานข้อมูล-ของโฮสที่ให้เรามา/domains/ชื่อโดเมนของเรา.com/public_html/ชื่อโฟลเดอร์เว็บไชต์ของเรา/logs'และtmp' ตามตัวอย่าง แล้วบันทึก

public $log_path = '/home/making/domains/makingjoomla.com/public_html/jm35/logs';
public $tmp_path = '/home/making/domains/makingjoomla.com/public_html/jm35/tmp';
การแก้ไขไฟล์เว็บ บน hosting แบบนี้  ด้วย โปรแกรม FTP ระบบจะแจ้งเตื่อน ถามเราว่า ต้องการบันทึกค่าหรือไม่ คลิก ใช่
ขั้นตอนสุดท้าย ของการแกไขไฟล์ เว็บไชต์ บน โฮทติ้ง คือ ไฟล์ htaccess.txt โดยการคลิกขวาเมาส์ คลิก เมนู เปลี่ยนชื่อให้เป็น .htaccess ไฟล์นี้มีไว้สำหรับ อ่าน/เขียนข้อมูลในระบบ จูมล่า จากนั้น File/save
Ads-bygoogle

Import ฐานข้อมูล joomla ด้วย DirectAdmin Hosting

Ads-bygoogle

DirectAdmin Hosting โปรแกรมการจัดการ web Control Panel สำหรับลูกค้า โดยผู้ให้บริการ เช่าพื้นที่ทำเว็บไชต์   มีเมนูในการใช้งานหลายๆอย่าง ที่ต้องศึกษา แต่มือใหม่ ส่วนใหญ่ใช้กันไม่กี่เมนู จดโดเมในโฮทเดียวกัน จะบริหารง่ายที่สุด แต่ก็สามารถ จดโดเมนจากที่อื่น แล้วเช่าพื้นที่ทำเว็บเจ้าอื่นได้เช่นกัน

โฮทติ้ง จะให้รหัสผ่าน DirectAdmin และ FTP มาให้เสร็จสับ เมล์มาให้ตามที่อยู่ใสการสมัคร โฮทติ้งนั้น ตัวอย่าง ข้อมูลที่แจ้งมาให้ เช่น

                    DirectAdmin                                              FTP port 21
                    Username : making                                     Username :  making   
                    Password: OP9IlCFD                                  Password: OP9IlCFD                            
              
บทความ แสดงตัวอย่าง การ Import ฐานข้อมูล joomla เข้าสู่พื้นที่ทำเว็บไชต์ ของผู้ให้บริการ Hosting
ซึ่งจะมีเมนู สร้างฐานข้อมูล ขึ้นไปจัดเก็บบนพื้นที่จริง ภายในไม่กี่นาที

Login เข้าสู่ผู้ดูแลระบบ DirectAdmin โดยพิมพ์ www.ชื่อโดเมนของเรา.com:2222 เพื่อเปิดการใช้งาน จะเข้าส้หน้าจอ web Control panel  จะมีเมนูที่่ชื่อ mysql management คลิก เข้ามาแล้ว ระบบจะพาไปสู่หน้าจอต่อไป
คลิก เมนู Create new  Database เพื่อสร้างฐานใหม่ เพราะในนี้ไมมี ฐานอะไรเลย มีแต่ความว่างเปล่า ต้องสร้าง ชื่อฐานข้อมูลเว็บไชต์ รหัสผ่าน ฐานข้อมูล ของเรา ให้เหมือนกันกับ การสร้างฐานข้อมูล Localhost/phpmyadmin ในเครื่องของเราเอง
ในหน้าจอนี้ แสดงการ สร้างฐานข้อมูล บน Hosting ของผู้ให้บริการ แต่จะมีข้อแตกต่างกันนิดหน่อย แบบ localhost ซึ่งจะต้องมีการ สร้างรหัสผ่าน ฐานข้อมูลนี้ แต่แบบ localhost ไม่ต้องสร้าง รหัสผ่าน ฐานข้อมูล สร้างแต่ชื่อ ฐานข้อมูลของเว็บไชต์อย่างเดียว จากนั้น คลิก>>ปุ่ม Create จะได้รหัสผ่านชื่อฐาน บน Hosting แล้ว 
ขั้นตอนสุุดท้าย คือ การ Inport  ฐานข้อมูล Jm35.sql ของเรา ที่ Export Database แบบ localhost  มาไว้ในเครื่อง ก่อนหน้านี้ เข้าสู่ ฐานข้อมูล ที่สร้างรอไว้บน Hosting ของเรา

Ads-bygoogle